ทำบุญครบรอบอายุ 60 ปี (5 รอบ)

View : 942

พิธีทำบุญครบรอบอายุ 60 ปี (5 รอบ)

  คำจำกัดความ    คือ การทำบุญครบรอบปีที่ 60 ตามสุริยคติกาล

ประวัติย่อ    ทำสืบ ๆ กันมาจนเป็นประเพณีนิยม

สิ่งของที่ใช้ในพิธี

            ก.   เครื่องพิธีสงฆ์ (ดูข้างต้น)

            ข.   เครื่องบูชาเทวดา

                (1)   บายศรีปากชาม

                (2)   เครื่องมัจฉมังสะ คือ กุ้ง, ปู, ปลา, หัวหมู, เป็ด, ไก่

                (3)   ขนมนมเนย คือ ขนมต้มแดง, ต้มขาว, ขนมหูช้าง, ขนมเล็บมือนาง, มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้าก็ได้) ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ทับทิม, นม, เนย, ขนมทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง

                (4) ธงใหญ่ ธงประจำเทวดานพเคราะห์ ธงเล็ก (ธงสีต่าง ๆ) ตามกำลังวัน (ธงใหญ่ 9 ธง,  ธงเล็ก 108 ธง) พร้อมทั้งกระทงบัตรพลี เครื่องบูชาเทวดาเหล่านี้ตั้งไว้บนโต๊ะ ปูผ้าขาว

            ค.   ธูปเทียนสำหรับพิธี คือ เทียนชัย  เทียนมงคล อย่างละ 1 เล่ม ธูปเทียนสำหรับบูชาเทวดานพเคราะห์อย่างละ 108

            ง.   ขันสาครขนาดใหญ่ 1 ขัน

            จ.   เครื่องไทยธรรมถวายพระ

ทำเพื่อ     สวัสดิมงคล

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพิธี

                -   ผู้ทำพิธีคือ พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป

                -   เจ้าภาพคือ ผู้ทำบุญวันเกิด

                -   ผู้เข้าพิธีคือ เจ้าภาพ แขกผู้รับเชิญ และพิธีกร

                -   พิธีกรคือ  ผู้รู้พิธีนี้ (โหร, พราหมณ์ หรืออนุศาสนาจารย์)

                -   ผู้ควรรับเชิญคือ ญาติมิตร บุคคลที่คุ้นเคย เพื่อนบ้านใกล้เคียง

กาลที่ควรจัดทำ     เมื่อครบรอบปีที่ 60 ตามสุริยคติกาล

สถานที่จัดทำ     ที่บ้าน, ที่วัด หรือที่สมาคมทางพระพุทธศาสนา

วิธีทำ

            ก. ขั้นเตรียมการ

                (1)   เตรียมหาฤกษ์ นิมนต์พระสงฆ์ เชิญพิธีกร

                (2)   เตรียมของที่จะใช้ในพิธีให้พร้อม

                (3)   เตรียมวงด้ายสายสิญจน์ (วางจากพระพุทธรูปโต๊ะหมู่บูชา ไปยังเครื่องบูชาเทวดา)

                (4)   เครื่องไทยธรรม

                (5)   เตรียมสัตว์ที่จะปล่อย เช่น นก, ปลา  เป็นต้น

            ข. ขั้นปฏิบัติการ

                (1)   เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย

                (2)   พิธีกร  อาราธนาศีล   พระสงฆ์ให้ศีล   เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีรับศีล

                (3)   เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาดาวนพเคราะห์

                (4)   พิธีกร กล่าวชุมนุมเทวดา (สัคเค   กาเม ฯลฯ)   จบแล้วอาราธนาพระปริตร

                (5)   พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จนถึงบทสรณคมน์ (พุทธัง)

                (6)   เจ้าภาพจุดเทียนชันและเทียนมงคล

                (7)   พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ สลับกับโหรบูชานพเคราะห์ ดังนี้


โหรบูชาพระอาทิตย์ พระสงฆ์สวดโมรปริตร

โหรบูชาพระจันทร์ พระสงฆ์สวดอภยปริตร

โหรบูชาพระอังคาร พระสงฆ์สวดกรณียเมตตสูตร

โหรบูชาพระพุธ พระสงฆ์สวดกรณียขันธปริตร

โหรบูชาพระเสาร์ พระสงฆ์สวดอังคุลิมาลปริตร

โหรบูชาพระพฤหัสบดี พระสงฆ์สวดรตนสูตร

โหรบูชาพระศุกร์ พระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยปริตร

โหรบูชาพระราหู พระสงฆ์สวดดังนี้

-  กลางคืน สวดจันทปริตร

-  กลางวัน สวดสุริยปริตร

โหรบูชาพระเกตุ พระสงฆ์สวดชยปริตร

            เมื่อพระสงฆ์สวดพระปริตรประจำนพเคราะห์องค์ใด เจ้าภาพหรือผู้แทนจุดเทียนธูปเท่ากำลังพระเคราะห์องค์นั้น และเมื่อพระสงฆ์ขัดตำนานบทรตนสูตร เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์

                (8)   ถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลตามแต่โอกาสที่ทำ

                (9)   ถวายเครื่องไทยธรรม

                (10)   พระสงฆ์อนุโมทนา

                (11)   เจ้าภาพกรวดน้ำและรับพรโดยลำดับ

                (12)   นำน้ำพระพุทธมนต์ใส่ลงในน้ำเทพมนต์ (มนต์ที่โหรบูชา) อย่านำน้ำเทพมนต์ใส่ลงในน้ำพระพุทธมนต์

                (13)   ได้ฤกษ์หลั่งน้ำ นิมนต์พระสงฆ์รูปที่เป็นประธาน ฯ หลั่งน้ำมนต์พระสงฆ์นอกนั้น สวดชัยมงคลคาถา เริ่มที่บทว่า ชยันโต... ท่านผู้มีเกียรติทยอยเข้าไปหลั่งน้ำผู้มีอายุมากกว่า เจ้าภาพรดน้ำที่ตัวหรือศีรษะ ผู้มีอายุน้อยกว่ารดบนฝ่ามือ)

                (14)   บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ขณะที่กำลังหลั่งน้ำ (ถ้ามีเครื่องบรรเลง)

                (15)   ปล่อย นก, ปลา  ที่เตรียมไว้ ก่อนปล่อย ให้นำน้ำกรวดให้สัตว์เหล่านั้นเสียก่อน

                        -   ส่งพระสงฆ์กลับ เป็นเสร็จพิธี


หมายเหตุ

                1.   เทียนชัย สูงเท่าตัวเจ้าภาพ ใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์หนัก 80 บาท ไส้เทียนเท่าอายุ บวก 1 (61 เส้น)

                2.   เทียนมงคล   สูงเท่ากับขนาดความยาวที่วัดโดยรอบศีรษะเจ้าภาพ ใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์หนัก 32 บาท ไส้เทียนเท่าอายุ (60 เส้น) ตั้งอยู่ในขันสาครใส่น้ำ

                3.   เทียนกำลังนพเคราะห์ ใช้ขี้ผึ้งหนักเล่มละ 1 สลึง ยาวขนาดนิ้วชี้โดยประมาณ จำนวน 108 เล่ม

                4.   เทียนหนักเล่มละ 1 บาท อีก 20 เล่ม สำหรับปักที่บัตรพลี 9 เล่ม, เทียนน้ำมนต์ 2 เล่ม, เทียนชนวน 2 เล่ม (เหลือนั้นไว้เป็นอะไหล่) 

                5.   สำหรับเทียนนพเคราะห์ 108 เล่มนั้น ใช้จุดและปักที่ขอบขันสาครเป็นน้ำเทพมนต์ ทุกครั้งที่พิธีกร สวดบูชานพเคราะห์จะใช้กี่เล่มจุดบูชา ก็สุดแต่กำลังวัน เช่น บูชาพระอาทิตย์ ก็จุด 6 เล่ม, บูชาพระจันทร์ จุด 15 เล่ม ฯลฯ   ปักที่ขันสาครเรื่อยไปจนกว่าจะจบ

                6.   กำลังวันนั้นมีดังนี้ พระอาทิตย์ 6, พระจันทร์ 15, พระอังคาร 8, พระพุธ 17, พระพฤหัสบดี 19, พระศุกร์ 21, พระเสาร์ 10, พระราหู 12, พระเกตุ 9

 

ที่มา : baanjomyut
โพสเมื่อ : 7 กรกฏาคม 2554
Tag : ทำบุญครบรอบ 
แบ่งปัน Bookmark and Share


  แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น  :   *
โดย  :   *
กรอกข้อความที่เห็น  :   yd8le


ทำบุญ
พิธีทำบุญครบรอบอายุ 60 ปี (5 รอบ) ควรทำอย่างไรถึงจะถูต้องคลิ้กเลยคะ
ขั้นตอนการทำบุญบ้าน(แบบชาวบ้านธรรมดา) ว่าจะกล่าวอาราธนาบทไหนอย่างไรเรามีมาบอก
การทำบุญ 9 วัด เพื่อเสริมดวงชะตา
การทำบุญอุทิศแก่คนตายครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน มีวิธีการมาบอก
การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวพุทธ
เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ
การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่า เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก
การทำบุญขึ้นบ้านใหม่มีมานานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยเอาคติจากวรรณคดีและความเชื่อเพื่อเป็นสิรมงคล
การไปทำบุญ เข้าวัดเข้าวา และที่ขาดไม่ได้สำหรับคนไทยนั้นก็คือการสะเดาะเคราะห์